UFABETWINS จากตัวประหลาดสู่เจ้าของธุรกิจ “เต๋า ปริญญา” ชายผู้อยู่กับสเก็ตบอร์ดมา 25 ปี

UFABETWINS “ทำไมมนุษย์สักคนถึงตัดสินใจเล่นสเก็ตบอร์ด?” คำถามนี้อาจผ่านเข้ามาในหัวของเรา ยามเดินผ่านสวนสาธารณะหรือที่โล่งกว้างใต้ทางด่วน ซึ่งเต็มไปด้วยเด็กวัยรุ่นที่จับกลุ่มกันเล่นสเก็ตบอร์ด

โลกของพวกเขา กับ โลกของเรา อยู่ห่างกันคนละใบ ทั้งที่ความจริงแล้ว สเก็ตบอร์ด คือวัฒนธรรมกระแสรองที่ฝังตัวอยู่ในประเทศไทยมานานกว่า 20 ปี หรืออาจจะเกือบ 30 ปี แต่ไม่มีใครเคยมองเห็น แถมยังเนรเทศพวกเขาให้กลายเป็นคนนอกของสังคม ในวันที่ทุกอย่างกำลังเปลี่ยนไป และสเก็ตบอร์ดเริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อคนหมู่มาก ทั้งในแง่ของกีฬาและแฟชั่น

เราเดินทางมายัง 9INE 5IVE Skate BKK ร้านสเก็ตบอร์ดบนถนนเพชรบุรี เพื่อหาคำตอบของคำถามที่เกิดขึ้นใจ ผ่านการพูดคุยกับ เต๋า-ปริญญา กิจพูลลาภ เจ้าของร้านและนักกีฬาสเก็ตบอร์ดอาชีพ ที่คลุกคลีอยู่กับวงการนี้มายาวนานกว่า 25 ปี ท่ามกลางลูกค้าที่เดินเข้ามาสอบถาม และซื้อสินค้าไม่ขาดสาย “ปริญญา” กำลังบอกเล่าการดินทางของวัฒนธรรม

สเก็ตบอร์ดในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่สังคมเคยมองพวกเขาเป็นตัวประหลาด สู่วันที่สเก็ตบอร์ดกลายเป็นวัฒนธรรมกระแสหลัก และกิจกรรมเพื่อคนทุกเพศวัย คุณเริ่มต้นเล่นสเก็ตบอร์ดได้อย่างไร? ผมเริ่มเล่นสเก็ตบอร์ดตอนอายุ 13 ปี ที่จังหวัดลำปาง ตอนนั้นเป็นปี 1995 ผมเห็นสเก็ตบอร์ดครั้งแรกจากข่าวในทีวี พวกรายการแบบภาพกีฬามันๆ หลังจากนั้น

ผมก็ไปตามหาสเก็ตบอร์ดเพื่อซื้อมาเล่น แต่ว่ามันไม่มีขาย ผมได้มาแค่สเก็ตบอร์ดพลาสติก แบบเพนนีบอร์ดอันเล็กๆที่ไปซื้อมาจากร้านกีฬาประจำจังหวัด ซึ่งผมเข้าใจว่ามันจะเหมือนกับสเก็ตบอร์ดที่ขายตามห้าง แต่ความจริงมันเหมือนแค่หน้าตา พอเอามาเล่นแล้วมันเล่นไม่ได้ ทั้งทรัคล้อหรือลูกยาง มันไม่ใช่ เป็นของปลอม เล่นท่าอะไรไม่ได้เลย สักปีหนึ่งผ่านไป

UFABETWINS

ผมเริ่มเห็นเพื่อนเอาสเก็ตบอร์ดรูปทรงแบบนี้ (ชี้ไปที่สเก็ตบอร์ดในร้าน) มาเล่นกันที่สนามบาสในโรงเรียน ผมเลยเข้าไปหาพวกเขาแล้วถามตรงๆเลยว่า ซื้อที่ไหน? ผมถึงได้รู้ว่า สเก็ตบอร์ดแบบที่เล่นกันทุกวันนี้ ตอนนั้นจังหวัดลำปางไม่มีขาย ต้องขึ้นไปซื้อที่เชียงใหม่ ผมคิดว่ายุคนั้น เมืองที่มีขายสเก็ตบอร์ดน่าจะมีแค่ กรุงเทพฯ กับ เชียงใหม่ สเก็ตบอร์ดตัวแรกของ

ผมก็ซื้อที่เชียงใหม่ ราคาประมาณ 5,000 บาท ร้านชื่อว่า ร้านกาโต้ มันเป็นร้านแรกที่ขายสเก็ตบอร์ดในจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือ ย้อนกลับไปในช่วงที่คุณหัดเล่น สังคมสเก็ตบอร์ดในจังหวัดลำปางใหญ่มากน้อยแค่ไหน? ลำปางเป็นจังหวัดเล็กๆ มีโรงเรียนใหญ่ในตัวจังหวัดแค่สองโรงเรียน ก๊วนเด็กผู้ชายจะรู้จักกันหมด ถ้าคุณมีเพื่อนในห้องเดียวกันเล่นสเก็ตบอร์ด

คุณก็แค่เข้าไปเล่นกันเขา มันเหมือนกับว่า เมื่อคุณมีสเก็ตบอร์ดหนึ่งตัวอยู่ในมือ เท่ากับว่า คุณมีพาสปอร์ตที่จะเข้าสู่เมืองนี้ได้ เราเล่นกันประมาณ 20-30 คน สมัยก่อนมันจะรวมกันหมดเลยนะ ทั้ง อินไลน์สเก็ต จักรยาน สเก็ตบอร์ด มันเป็นแก๊งใหญ่ๆ ถ้าจะให้เห็นภาพก็เหมือนเอ็มวีเพลง “ซูเปอร์ฮีโร่” ของวงแร็ปเตอร์ (Raptor) แบบนั้นเลย เราคือแก๊งเด็กตัวเล็กที่ใส่เสื้อผ้า

ตัวใหญ่ๆ รวมตัวกันเล่นสเก็ตบอร์ด เดินทางไปตามสถานที่อินเทรนด์ หาโลเคชั่นเพื่อเล่นสเก็ตบอร์ด เช่น ไปแอบเล่นตามโรงเรียนช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ สถานที่ราชการ หรือ ตึกร้าง อะไรแบบนี้ สำหรับเด็กวัยรุ่นเมื่อ 25 ปีก่อน การเล่นสเก็ตบอร์ดมันเท่ขนาดไหน? ไม่เท่เลย (ตอบทันควัน) ในยุคนั้น สเก็ตบอร์ดเป็นอะไรที่ดูใต้ดิน คนเล่นก็เป็นพวกนอกคอก

ตัวประหลาดของสังคม คือมันเท่ในสายตาเราเอง แต่สำหรับคนอื่น คนเล่นสเก็ตบอร์ดเป็นพวกเด็กกวนเมือง ไร้สาระ บ้าแฟชั่น เสียงดังที่วันๆไม่ทำประโยชน์อะไรเลย เพราะเอาแต่เล่นสเก็ตบอร์ด พูดง่ายๆคือ สังคมอื่นมองเราเป็นตัวประหลาด ไปที่ไหนก็ไม่มีใครชอบ เริ่มตั้งแต่การแต่งตัวที่มันไม่เหมือนชาวบ้าน เสื้อผ้าก็ต้องใส่ตัวใหญ่ๆ พวกเสื้อผ้า-กางเกงโอเวอร์ไซซ์

เพราะยุคนั้นมันจะมีแฟชั่นแค่แบบเดียวคือ ฮิปฮอป ตอนนั้น ผมก็คิดว่าตัวเองเก๋า (ยิ้ม) คิดว่าตัวเองเท่ เราต้องทำตัวเด่น เดินรวมกลุ่มกันเป็นสิบคน เดินห้างด้วยกัน ดูหนังพร้อมกัน มองย้อนกลับไปมันก็เหมือนเห็นเด็กสมัยนี้มั้ง อารมณ์แบบว่า “อยากจะเฟี้ยวกันเหลือเกิน” (หัวเราะ) เคยมีคนรอบข้างตั้งคำถามในความชอบของคุณไหม? พ่อแม่ผมไม่เคยสนับสนุนให้ผมเล่น

สเก็ตบอร์ด ในสายตาพวกเขา ตอนนั้นผมลุคแบดบอยมาก ทั้งที่ความจริงผมไม่ได้ไปไหนไกลบ้านเลย เพราะบ้านผมอยู่ในโซนสวนสาธารณะที่เล่นกันเป็นประจำ เดินกลับบ้านด้วยตัวเองได้ แต่ว่าผมไปเล่นตั้งแต่ 5 โมงเย็นจนถึง 2-3 ทุ่ม ซึ่งมันคงดึกมากแล้วสำหรับเขา ผมก็เลยโดนด่าเละ พ่อบอกเลย “มึงห้ามไปเล่นนะ มึงกลับดึกมาก” ผมจำได้ว่าหลังจากโดนดุ

ผมก็หยุดเล่นไปสักอาทิตย์นึง สุดท้ายผมก็คิดในใจว่า “ช่างแม่งมัน” แล้วก็กลับไปเล่นสเก็ตบอร์ด ถึงจุดนั้น เขาก็ทำอะไรไม่ได้แล้ว อีกอย่างพ่อแม่ผมก็คงไม่มีเวลามานั่งด่าผมทุกวัน หลังจากนั้น ชีวิตของผมคืออยู่บนลานสเก็ต ผมจะอยู่ที่นั่นตั้งแต่หลังเลิกเรียน จนถึงตีหนึ่ง-ตีสอง ผมใช้ชีวิตแบบนี้ตั้งแต่ ม.3 จนจบ ม.6 ตอนนั้นคุณดูหมกมุ่นกับการเล่นสเก็ตบอร์ดมากเลย

UFABETWINS

นะ? หมกมุ่นมาก ในหัวผมไม่เคยคิดเรื่องอื่นเลย เพราะมันมีแต่เรื่องสเก็ตบอร์ด ไปโรงเรียนก็เอาแต่นั่งวาดรูปสเก็ตบอร์ด นั่งเขียนโลโก้ คิดแต่เย็นนี้จะเล่นท่าอะไร สมองผมมีแค่นี้จริงๆ เรื่องอื่นไม่มีในหัว ทั้งเรื่องเรียนหรือผู้หญิง ผมไม่เคยคิดเลย เวลาผมยืนอยู่บนบอร์ด สมองผมมันเหมือนปิดสวิตช์ (ดีดนิ้ว) โลกภายนอกมันเงียบไปหมด ผมไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย

เพราะเวลาเล่นคุณต้องโฟกัส คุณต้องคิด คุณต้องบังคับร่างกายตลอดเวลา มันเหมือนกับเราชัตดาวน์สิ่งต่างๆแล้วเข้าไปอยู่ในโลกของตัวเองที่คนนอกเข้าไม่ได้ เราคอนโทรลได้หมดทุกอย่าง สเก็ตบอร์ดมันคือโลกที่ไม่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีครูมานั่งบอกว่า คุณทำแบบนี้คือถูก คุณทำแบบนี้คือผิด ไม่มีพ่อแม่มาคอยสอนว่า แต่งตัวแบบนี้ไม่เรียบร้อย ไม่มีใครมานั่งบ่นนั่งว่าอะไร

เราเลยนะ มันคือโลกที่เป็นอิสระของเราจริงๆ เราทำเหี้ยอะไรก็ได้ หลังจากนั้น คุณก้าวเข้ามาใช้ชีวิตในกรุงเทพมหานคร สังคมสเก็ตบอร์ดในเมืองหลวงแตกต่างจากต่างจังหวัดมากน้อยแค่ไหน? สเก็ตบอร์ดในไทยมันเริ่มตั้งแต่ก่อนที่ผมจะรู้จัก เพราะมีพวกพี่ในกรุงเทพฯ เขาเริ่มเล่นกันก่อนตั้งหลายปี ส่วนของต่างจังหวัดแบบที่ผมอยู่ มันดีเลย์กว่ามาก เริ่มเล่นหลัง

จากคนในกรุงเทพฯประมาณ 6-7 ปี ก่อนเข้ามากรุงเทพฯ ผมไม่มีภาพในหัวเลยว่าสังคมสเก็ตบอร์ดที่นี่เป็นอย่างไร? เคยแต่ได้ยินรุ่นพี่หรือเพื่อนเล่าว่า เด็กเล่นสเก็ตบอร์ดในกรุงเทพฯ เขาเก่งกันมากนะ เมื่อผมย้ายมาอยู่ที่นี่หลังจากเรียนจบ ม.6 ถึงรู้ว่า เออ มันต่างกันมากจริงๆ พวกเขาเล่นเก่งกว่า แถมเรื่องแฟชั่นนี่คือ โอ้โห มันเทียบกันไม่ติด ผมเป็นเด็กต่างจังหวัด

เรามีเงินน้อยกว่า แต่งตัวเสื้อผ้าไม่มียี่ห้อ แต่เพื่อนที่เล่นสเก็ตในกรุงเทพฯ เขาใส่เสื้อผ้าแบรนด์สเก็ตบอร์ดตั้งแต่หัวจรดเท้า ใหม่ทั้งตัว สเก็ตบอร์ดใหม่ เสื้อผ้าใหม่ รองเท้าใหม่ มันต่างกันมาก คุณรู้สึกอย่างไรเมื่อเห็นภาพแบบนั้น? ผมรู้สึกชื่นชมนะ บอกกับตัวเองว่า “เท่ว่ะ เจ๋งดีว่ะ” มันสร้างแรงผลักดันในใจว่า อยากมีแบบเขาบ้าง ช่วงนั้นผมก็ตั้งใจเก็บเงิน ใช้เงินอย่าง

ประหยัดเพื่อซื้อสเก็ตบอร์ดใหม่ อย่างเงินที่บ้านเขาส่งมาให้เรียน ผมก็เอาไปซื้อเสื้อผ้า ซื้อสเก็ตบอร์ด ความจริงคือ 2 ปีแรกที่มาอยู่กรุงเทพฯ ผมไม่ได้ไปเรียนเลย เอาแต่อยู่ติดบ้าน เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้เงิน อีกอย่างคือในหัวเรามันคิดแต่เรื่องสเก็ตบอร์ด มองผ่านความรู้สึกและประสบการณ์ของคุณ คนในกรุงเทพฯเห็นคนเล่นสเก็ตบอร์ดเป็นตัวประหลาดเหมือนคนต่าง

จังหวัดหรือเปล่า? ก็คล้ายกับต่างจังหวัดแหละ คนภายนอกเขาคงมองพวกเราด้วยสายตาที่เหมือนกัน เห็นเราเป็นคนแต่งตัวประหลาด ไปที่ไหนก็เสียงดัง แตกต่างแค่ คนเล่นในสเก็ตบอร์ดกรุงเทพฯเขาแต่งตัวเท่กว่า (หัวเราะ) ตอนนั้นสังคมสเก็ตบอร์ดในกรุงเทพฯมันก็ยังไม่กว้างมาก ช่วงปี 1999-2000 สเก็ตบอร์ดยังเป็นอะไรที่ Niche (เฉพาะกลุ่ม) ยังเป็นอะไรที่

Unique (ไม่เหมือนใคร) แม้แต่ในกรุงเทพฯ ยุคนั้น พื้นที่เล่นสเก็ตบอร์ดมันน้อยมากเลยนะ น้อยกว่าตอนนี้เยอะ ในช่วงนั้นก็จะมีรวมตัวกันเล่นที่สนามศุภชลาศัย รองลงมาคือสวนเบญจกิติ ที่เหลือคนก็จะเล่นตามจุดใกล้บ้านต่างๆ อาจจะเป็นแถวบางเขนหรือดอนเมือง ซึ่งมันก็เป็นกลุ่มเล็กๆ ประมาณ 10-20 คน ทำอุปกรณ์เล่นกันเองตามลานสาธารณะ

เวลาไปเล่นสเก็ตบอร์ดในพื้นที่แบบนี้ ผมไม่เคยสนใจว่าใครจะรำคาญหรือมองผมยังไง ย้อนกลับไปตอนนั้น อาจจะเป็นด้วยวัยของเรา ถึงเขารู้สึกว่าเดือดร้อน ผมก็คงไม่แคร์อ่ะ ซึ่งความจริง ผมก็มองว่า ผมไม่เคยทำให้ใครเดือดร้อน เพราะเราเล่นสเก็ตบอร์ดกันในพื้นที่สาธารณะ ผมมองว่ามันเป็นสิทธิ์ของเรา เพราะมันเป็นพื้นที่สาธารณะ แค่นั้นเลย คำว่า พื้นที่สาธารณะ

หมายความว่า นี่คือพื้นที่ของทุกคน เมื่อไหร่ที่ผมไปเล่นหน้าบ้านคนอื่น อันนั้นแหละคือผมทำเขาเดือดร้อน หลังจากเล่นสเก็ตบอร์ดมาหลายปี อะไรคือแรงบันดาลใจที่ทำให้คุณเปิดร้านสเก็ตบอร์ดของตัวเอง? ผมเริ่มทำร้านสเก็ตบอร์ดกับ Preduce มาตั้งแต่ปี 2002 อธิบายก่อนว่า Preduce เป็นบริษัทสเก็ตบอร์ดแห่งแรกของไทย พวกเรามีทีมสเก็ตบอร์ดและเปิดร้านที่

สยามสแควร์ตอนปี 2006 ผมก็ทำมาในฐานะหุ้นส่วนและสมาชิกทีมด้วย ถ้าจะถามว่า เปิดร้านสเก็ตบอร์ดตอนนั้น ผมคิดอะไรอยู่ในหัว? คือชีวิตของผมมันไม่มีอะไรอย่างอื่น มีอยู่เรื่องเดียวคือสเก็ตบอร์ด ตอนนั้นผมเพิ่งเรียนจบ แต่ผมไม่อยากทำอะไรเลย ไม่อยากทำงาน ไม่อยากสมัครงาน ไม่อยากเข้าไปสู่ระบบของพนักงานออฟฟิศ ผมนั่งคิดแต่ว่า ทำอย่างไรถึงจะเล่น

สเก็ตบอร์ดได้ทุกวันเหมือนเดิม คำตอบก็คือ เปิดร้านสเก็ตบอร์ด แค่นั้นเลย มีแนวคิดอะไรอยู่เบื้องหลังการขายสินค้าสเก็ตบอร์ดของคุณบ้าง? ผมขอแบ่งเป็น 2 ส่วนแล้วกัน ส่วนแรกคือตอนที่ผมทำกับ Preduce คือตอนนั้นเราต้องการทำร้านเป็น Pure Skateboard เป็นร้านที่ตอบโจทย์คนเล่น Core Skate หรือคนเล่นสเก็ตบอร์ดเล่นท่า ดังนั้น สินค้าสเก็ตบอร์ดทุกอย่าง

ที่ขายต้องเป็นแบรนด์ที่ดี แบรนด์ที่ดัง ต้องเป็นแบรนด์ของ.. ตัวจริง เพราะเราโฟกัสที่คนเล่นสเก็ตบอร์ดจริงๆ รองลงมาถึงเป็นกลุ่มแฟชั่น แต่ที่ 9INE 5IVE หรือร้านใหม่ของผม เราโฟกัสทุกคนที่ชอบสเก็ตบอร์ด คือ Preduce เขาจะโฟกัสแค่คนเล่น

Core Skate แต่ที่ 9INE 5IVE กลุ่มเป้าหมายของร้านคือทุกคนที่ชอบสเก็ตบอร์ด และเล่นสเก็ตบอร์ดทุกประเภท สังเกตได้ว่าเราจะมีสินค้าทั้งสเก็ตบอร์ดเล่นท่า, ครุยเซอร์ หรือ เซิร์ฟสเก็ต ลูกค้าที่เข้ามาในร้านก็เป็นหน้าใหม่ถึง 80 เปอร์เซ็นต์

คลิ๊กเลย >>> UFABETWINS

อ่านข่าวเพิ่ม >>> บ้านผลบอล